วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เที่ยวยุโรป 10 อันดับ สถานที่ท่องเที่ยวสุดคลาสิค

 10. กรุงปราก – สาธารณรัฐเชค

เที่ยวยุโรป 10 กรุงปราก - สาธารณรัฐเชค หลายๆคนกล่าวว่าหากคุณมีโอกาสไปเที่ยวได้แค่เมืองเดียวในยุโรป กรุง Prague เป็นเมืองที่ควรค่าแก่โอกาสของคุณมากที่สุด มีเพลงของชาวตะวันตกมากมายที่กล่าวถึงความสวยงามของเมืองแห่งนี้ ถ้าให้เปรียบคงเปรียบได้กับโลกกาตูนย์ของดิสนีย์ ที่คุณมักจะได้เห็น ปราสาทใหญ่โต, สิ่งก่อสร้าง ตระการตา, เกวียนม้าลาก, ถนนที่ก่อด้วยอิฐมาเรียงกัน, ห่านแหวกว่ายไปตามลำคลอง เชื่อไหมครับทั้งหมดนี้หาได้ที่กรุงปรากเมืองหลวงของสาธารณรัฐเชค
หลายๆคนกล่าวว่าหากคุณมีโอกาสไปเที่ยวได้แค่เมืองเดียวในยุโรป กรุง Prague เป็นเมืองที่ควรค่าแก่โอกาสของคุณมากที่สุด มีเพลงของชาวตะวันตกมากมายที่กล่าวถึงความสวยงามของเมืองแห่งนี้ ถ้าให้เปรียบคงเปรียบได้กับโลกกาตูนย์ของดิสนีย์ ที่คุณมักจะได้เห็น ปราสาทใหญ่โต, สิ่งก่อสร้าง ตระการตา, เกวียนม้าลาก, ถนนที่ก่อด้วยอิฐมาเรียงกัน, ห่านแหวกว่ายไปตามลำคลอง เชื่อไหมครับทั้งหมดนี้หาได้ที่กรุงปรากเมืองหลวงของสาธารณรัฐเชค

9. เที่ยวยุโรป – เมืองกรากุฟ – โปแลนด์

เมืองกรากุฟ - โปแลนด์
กรากุฟเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยสถาปัตเก่าแก่ที่ไม่โทรมไปตามกาลเวลาและยังมีความสวยงาม ดูมีมนต์ขลังอีกด้วย ซึ่งเพียงเท่านี้ก็ให้นักท่องเที่ยวอ้าปากค้างได้แล้ว นอกจากความสวยงามของเมืองแล้ว ที่กราสโกว์ยังมีอาหารเริศรศในราคาที่ไม่แพง เหมือนเมืองอื่นๆของยุโรปอีกด้วย

 8.  เมืองบรูจส์ – เบลเยียม

เมืองบรูจส์ - เบลเยียม
เป็นเมืองที่บรรยากาศดีมาก ตึกราบ้านช่องยังดูเก่าและคงความสวยงามสไตล์คลาสสิกได้ดีมากๆ ที่สำคัญสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ของเมืองนี้ อยู่ใกล้กันมาก ซึ่งคุณสามารถไปเยี่ยมชมทุกสถานที่ได้ด้วยการเดินเท่านั้น แถมอากาศที่นี่ยังดีมากๆ แดดไม่ส่องมากเนื่องจากตึกส่วนมากติดกันคอยเป็นที่บังแดดให้

 7. เมืองซีเอนา – อิตาลี

เมืองซีเอนา - อิตาลี
เมืองซีเอนาถูกขนานนามว่าเป็นเมืองที่ไร้กาลเวลา เพราะแม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ เมืองแห่งนี้ยังคงความคลาสสิกแบบอิตาลีสมัยก่อน ความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย ผู้คนมีความเป็นกันเอง นักท่องเที่ยวรายนึงกล่าวว่า “ฉันมาที่นี่ 18 ครั้งแล้ว แม้ว่าสถานที่ยังสวยงามเช่นเดิมทุกครั้ง แต่ฉันได้ประสบการณ์ใหม่ๆและพบอาหารอร่อยกว่าที่เคยทุกครั้งที่มาที่นี่” บางคนกล่าวว่า ซีเอนาเป็นเมืองที่สวยงามและเงียบสงบกว่า โรม และ ฟลอเรนซ์ เสียอีก

 6. กรุงโรม – ประเทศอิตาลี

เที่ยวยุโรป 10 อันดับ สุดยอดเมือง สุดคลาสสิก ตามสไตล์ ยุโรป
กรุงโรมเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คุณจะสามารถไปใช้เวลาอยู่ได้เป็นเดือนๆ โดยไม่เบื่อเลย เพราะที่นี่มีแหล่งท่องเที่ยวสวยๆนับไม่ถ้วน ผู้คนเป็นกันเองตามสไตล์อิตาลี อาหารการกิน บริการต่างๆ ก็มีครบครันมากกว่าเมืองท่องเที่ยวไหนๆของโลกเลยก็ว่าได้ ที่สำคัญสถาปัตยกรรมที่นี่สวยงามจนคุณจะลืมไม่ลงเลยทีเดียว

5. กรุงเวียนนา – ออสเตรีย

ยุโรป 10 อันดับ สุดยอดเมือง สุดคลาสสิก ตามสไตล์ ยุโรป
กรุงเวียนนาเต็มไปด้วยกลิ่นอายของ ดนตรี, ประวัติศาสตร์ และ ศิลปะ ซึ่งทำให้เมืองหลวงของประเทศออสเตรียแห่งนี้เป็นเมืองที่น่ามาเที่ยวที่สุดหากคุณเป็นคนที่หลงไหลในวัฒนธรรมตะวันตก ตามท้องถนนของเมืองนี้มักจะมีวณิพกบรรเลงดนตรีคลาสสิกให้ฟัง ยิ่งทำให้บรรยากาศของเมืองนี้มีเสน่ความเป็นยุโรปคลาสสิกมากขึ้นไปอีก

 4. ซาน เซบาสเตียน – สเปน

เที่ยวยุโรป 10 อันดับ สุดยอดเมือง สุดคลาสสิก ตามสไตล์ ยุโรป
ถ้าหากจะมีเมืองไหนซักเมืองได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีอาหารอร่อยที่สุดของทวีปยุโรป ซาน เซบาสเตียน ประเทศสเปนเหมาะที่จะได้รับตำแหน่งนั้นเป็นที่สุด ไม่ว่าจะไปที่ไหนคุณจะได้ยินคนรอบๆพูดว่า eat eat eat อยู่ตลอด เพราะเมืองนี้เต็มไปด้วยร้านอาหารอร่อย ตกแต่งสวย ราคาไม่แพง มากมายตลอดทั้งเมือง นอกจากนั้นยังมีชายหาดสวยๆให้ไปนั่งชิว หรือ เดินเล่น ได้อีกด้วย

3. ซาลซ์บูร์ก – ออสเตรีย

เที่ยวยุโรป 10 อันดับ สุดยอดเมือง สุดคลาสสิก ตามสไตล์ ยุโรป
Salzburg เป็นเมืองเล็กๆของออสเตรียซึ่งยังมีความยุโรปอยู่มาก แทบไม่มีสิ่งก่อสร้างใหม่ๆหรือตึกสูงขึ้นเลยแม้แต่ที่เดียว เมืองนี้เป็นเมืองบ้านเกิดของ โมซาร์ท นักดนตรีชื่อก้องโลก (รวมทั้งนักดนตรีคลาสสิกที่มีชื่อเสียงในอดีตอีกหลายคน) ที่นี่เป็นที่ที่เฟอร์เฟคสุดๆหากคุณหลงรักประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (หากสนใจสุดยอดที่เที่ยวออสเตรีย คลิกที่นี่ > เที่ยวออสเตรีย)

2. บูดาเปสต์ – ประเทศฮังการี

เที่ยวยุโรป 10 อันดับ สุดยอดเมือง สุดคลาสสิก ตามสไตล์ ยุโรป
ทุกๆอย่างของบูดาเปสต์ดูจะสวยงามไปหมด ตึกราบ้านช่องรวมทั้งที่อยู่อาศัยของผู้คนทั่วไปดูสวยงามตระการตาสุดๆ (จากภายนอก) อาหารของเมืองนี้ก็เรียกได้ว่าอร่อยมาก สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆอัดแน่นรวมกันทำให้เดินหาได้ไม่ยากเลย

 1. ฟลอเรนซ์ – อิตาลี

ฟลอเรนซ์ - อิตาลี
เมืองฟลอเรนซ์ถูกจัดให้เป็นเมืองที่สวยที่สุดโดยสมาคมถ่ายรูปยุโรป 2012  เป็นเมืองที่โดดเด่นมากในด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ยังคงความคลาสสิกสวยงามตามแบบฉบับเมืองยุโรป และที่สำคัญเมืองเล็กๆของอิตาลีเมืองนี้ ยังขึ้นชื่อเรื่องอาหารอีกด้วย 

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Brexit คืออะไร

Brexit คืออะไร

Brexit คืออะไรทำไมต้องออก ?

Brexit คืออะไร และจะมีผลกับการเมืองและเศรษฐกิจโลกอย่างไร หลายฝ่ายบอกว่านี่คือความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกเลยทีเดียว
เมื่อสองสามปีก่อน คำว่า Grexit (Greece+Exit คือความเสี่ยงที่กรีซอาจจะต้องออกจากยูโรโซน) เป็นความเสี่ยงที่สำคัญ และพูดถึงกันค่อนข้างมาก แต่มาในวันนี้ Brexit กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ไม่พูดถึงกันไม่ได้แล้ว

อะไรเป็นอะไร

Brexit มาจากคำว่า Britain+Exit คือความเสี่ยงที่สหราชอาณาจักร (United Kingdom หรือ Great Britain) หรือที่คนไทยมักจะเรียกกันว่า “อังกฤษ” (England) จนเคยชิน อาจจะออกจากสหภาพยุโรป (European Union) 
ทำความเข้าใจกันนิดหนึ่งก่อนนะครับ ว่าสหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่มีประเทศอยู่ภายในประเทศอีกที คือประกอบไปด้วย อังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ (สังเกตว่าเวลาพูดถึงประเทศทางการเมืองและเศรษฐกิจ คนส่วนใหญ่จะใช้ United Kingdom กันตลอดเวลา แต่แข่งฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกทีไร เห็นมีเข้าแข่งกันสามสี่ทีมเลย) 
และสหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร (งงหรือยังครับ)
ยุโรป

สหภาพยุโรป

สหภาพยุโรป เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง (politico-economic union) ที่ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกในยุโรป 28 ประเทศ มีขนาดของตลาดในแง่ GDP ใหญ่ที่สุดในโลก (พอๆ กับสหรัฐอเมริกา) แต่ก็มีบางประเทศในยุโรปที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เช่น นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์
และสหภาพยุโรปเป็นมากกว่าเขตการค้าเสรีหรือ “customs union” เพราะไม่เพียงสินค้าและบริการจะสามารถเข้าออกประเทศสมาชิกได้อย่างเสรีแล้ว แรงงานและทุนก็สามารถเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศได้อย่างเสรี แปลว่าคนในประเทศสมาชิก สามารถเดินทางไปหางานในอีกประเทศได้ และทุนสามารถเคลื่อนย้ายกันได้อย่างเสรี
เพื่อทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้ สหภาพยุโรปจึงต้องมีอำนาจเหนือรัฐสมาชิกในการออกกฎหมายและระเบียบต่างๆ เพื่อควบคุมบางเรื่องให้สอดคล้องกันทั่วสหภาพยุโรป และบังคับใช้ได้ในทุกประเทศสมาชิก และสหภาพยุโรปมีสถาบันที่มีลักษณะเหมือนรัฐเหนือรัฐ เช่น มีรัฐสภายุโรป (European Parliament) และศาลยุติธรรมยุโรป (European Court of Justice) เพื่อออกกฎหมายและแก้ไขข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายของสหภาพยุโรป
นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่คล้ายการคลังของรัฐเหนือรัฐ ในการเก็บเงินจากประเทศต่างๆ แล้วเอาไปกระจายให้กับประเทศสมาชิก
พวกอำนาจพวกนี้แหละครับ นำไปสู่คำถามว่า ไปลดอำนาจอธิปไตยของประเทศสมาชิกหรือเปล่า กฎระเบียบต่างๆ ของสหภาพยุโรปมีประโยชน์หรือกลายเป็นต้นทุนของรัฐกันแน่ และต้นทุนกับประโยชน์ของการเป็นสมาชิกนั้นอย่างไหนเยอะกว่ากัน และมันคุ้มกันหรือไม่
ประเด็นพวกนี้มีการพูดถึงกันมาตลอด แต่เริ่มเป็นประเด็นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีปัญหาผู้อพยพในยุโรป หลายคนที่อยากให้รัฐบาลออกกฎหมายควบคุมเขตแดนเพื่อลดจำนวนผู้อพยพ แต่ก็ทำไม่ได้เต็มที่เพราะไปขัดกับกฎของสหภาพยุโรป

แล้วทำไมต้องทำประชามติ

ประเด็นพวกนี้กลายเป็นประเด็นสำคัญทางการเมืองในสหราชอาณาจักรมากขึ้นเรื่อยๆ จนพรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่มีนโยบายสนับสนุนให้สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป เริ่มได้คะแนนเสียงมากขึ้นเรื่อยๆ จนพรรคการเมืองหลักอย่างพรรคอนุรักษ์นิยม และพรรคแรงงาน เริ่มจะเก็บประเด็นนี้ไว้ใต้พรมไม่ได้
ในการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว David Cameron จึงประกาศว่า ถ้าชนะการเมืองตั้ง จะเอาประเด็นนี้มาให้ประชาชนโหวตตัดสินกันเลย และจะเจรจากับสหภาพยุโรป เพื่อปฏิรูปข้อกำหนดสหภาพยุโรป และขอเงื่อนไขที่ดีขึ้นต่อสหราชอาณาจักร
และเมื่อชนะการเลือกตั้ง David Cameron จึงต้องทำตามสัญญาจัดทำประชามติทั่วประเทศ จนกลายเป็นประเด็นร้อนแรง ที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้าน แม้ว่ารัฐบาลมีจุดยืนชัดเจนว่าสนับสนุนให้สหราชอาณาจักรอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไป แม้แต่รัฐมนตรีในรัฐบาลเดียวกันยังเห็นไม่ตรงกัน และรัฐมนตรีบางคนเป็นแกนนำในการรณรงค์ให้ออกจากสหภาพยุโรปเสียด้วย (ไม่มีกฎหมายห้ามเหมือนบางประเทศนะครับ)

เหตุผลฝั่งสนับสนุนให้ออก

เหตุผลของฝั่งสนับสนุนดูจะเป็นเหตุผลด้านการเมืองเสียมาก ฝั่งสนับสนุนมองว่า การอยู่ในสภาพยุโรปมีโทษมากกว่าประโยชน์ โดยเฉพาะประเด็นอธิปไตย และการออกกฎหมาย (โดยเฉพาะจากกรณีผู้อพยพ) และเห็นว่ากฎระเบียบต่างๆ จากสหภาพยุโรปเป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ต้นทุนทางการคลังก็เสียไปเปล่าๆ 
นอกจากนี้ ฝ่ายสนับสนุนเชื่อว่าต้นทุนการออกจากสหภาพยุโรปไม่น่าจะมาก เพราะยังไงน่าจะเจรจากันได้ และยุโรปก็ต้องพึ่งพาสหราชอาณาจักรเหมือนกัน

เหตุผลฝ่ายให้อยู่ต่อ

ฝ่ายที่อยากให้อยู่ต่อ กังวลว่าต้นทุนทางเศรษฐกิจของการออกจากสหภาพยุโรปอาจจะสูงมาก และความไม่แน่นอนหลักจากออกจากสหภาพยุโรปอาจจะมีสูงจนทำให้การลงทุนและเศรษฐกิจหยุดชะงักได้
เพราะไม่เคยมีใครออกจากสหภาพยุโรป จึงไม่รู้ว่าเงื่อนไขหลังจากออกจะเป็นอย่างไร สหราชอาณาจักรได้รับประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของยุโรป การค้าเป็นกว่าร้อยละ 60 ของเศรษฐกิจ และกว่าครึ่งเป็นการค้ากับสมาชิกในสหภาพยุโรป ที่ไม่มีกำแพงภาษีระหว่างกัน 
ถ้าออกจากการเป็นสมาชิก นั่นอาจจะหมายความว่าสินค้าและบริการระหว่างสหราชอาณาจักร กับประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปอาจจะต้องมีภาษีนำเข้าระหว่างกัน สหภาพยุโรปจะยอมให้สหราชอาณาจักรได้ปรับประโยชน์เสมือนเป็นประเทศในเขตการเสรีหรือไม่ ถ้าให้จะต้องจ่ายด้วยอะไร แล้วการค้ากับประเทศอื่นๆ ที่สหภาพยุโรปมีข้อตกลงเขตการค้าเสรีแล้วล่ะ สหราชอาณาจักรต้องไปนั่งเจรจาทีละประเทศหรือเปล่า แล้วระหว่างนั้นการค้าจะเป็นอย่างไร
นอกจากนี้ สหราชอาณาจักรยังเป็นศูนย์กลางการลงทุนและศูนย์กลางทางการเงินของยุโรป เพราะได้ประโยชน์จากเงื่อนไขและกฎระเบียบที่ใช้เหมือนกัน ถ้าวันหนึ่งสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสหภาพยุโรป แล้วสหภาพยุโรปไม่ยอมรับระเบียบการดูแลสถาบันการเงินของสหราชอาณาจักรขึ้นมา จะเกิดอะไรขึ้นกับสถาบันการเงินที่ใช้ลอนดอนเป็นศูนย์กลาง
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงว่าสหราชอาณาจักรอาจจะแตกเป็นเสี่ยงๆ ถ้าออกจากสหภาพยุโรป เพราะไอร์แลนด์เหนือและสกอตแลนด์ที่มีทีท่าอยากแยกตัวจากสหราชอาณาจักรอยู่แล้ว อาจใช้เป็นเงื่อนไขในการทำประชามติอีกรอบ เพื่อจะอยู่ต่อกับสหภาพยุโรป

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ

ผลกระทบจริงๆ ต่อเศรษฐกิจค่อนข้างยากที่จะประเมิน เพราะมีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูงเกี่ยวกับเงื่อนไขหลักจากการโหวตไปแล้ว และนักวิเคราะห์หลายคนมีประมาณการที่ต่างกันค่อนข้างมาก ตั้งแต่บวกยันลบ (อาจจะขึ้นอยู่กับความเห็นทางการเมือง)
แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการออกจากสหภาพยุโรปออกมาเตือนกันค่อนข้างเยอะ ทั้งรัฐบาลสหราชอาณาจักรเอง ผู้นำยุโรป และผู้นำสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ IMF และ OECD ยังออกมาเตือนว่า ถ้าสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปจริงๆ อาจจะเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจโลกอย่างร้ายแรงได้ (และดันมาทำกันตอนเศรษฐกิจโลกเปราะบางเสียด้วย) และประเด็นนี้กลายเป็นประเด็นความเสี่ยงสำคัญที่ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกยกขึ้นมาเป็นลำดับต้นๆ 
แม้แต่ธนาคารกลางอังกฤษ ยังบอกว่าจะต้องเตรียมมาตรการรับมือกรณีที่ต้องออกจากสหภาพยุโรปจริงๆ หรือกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ยังบอกว่าการลงประชามติอาจจะมีผลต่อการตัดสินใจ

Too close to call

ผลการสำรวจประชามติ (ตามดูได้ที่นี่) ที่ผ่านมายังคงค่อนข้างใกล้กันมาก แม้ฝ่ายสนับสนุนให้อยู่ต่อจะมีคะแนนนำอยู่เล็กน้อย แต่ฝ่ายที่ยังไม่ตัดสินใจยังคงมีมาก และสามารถเปลี่ยนผลการลงคะแนนได้แบบสบายๆ (ตัวชี้วัดอื่นๆ เช่น ผลจากเว็บไซต์พนันต่างๆ ให้โอกาสอยู่ต่อเยอะกว่าพอสมควร)



ที่มา: Financial times
ที่มา: Financial times

อย่างไรก็ดี ตลาดก็ให้ความกังวลประเด็นนี้ค่อนข้างมาก ค่าเงินปอนด์อังกฤษหล่นไปอยู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายปี และราคาหุ้นบริษัทที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการออกจากสหภาพยุโรปก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย

ครีมเทียม

ครีมเทียม

ครีมเทียม (อังกฤษNon-dairy creamer, coffee whitener) หรือบางครั้งที่เรียกกันจนติดปากว่า คอฟฟีเมต[1][2][3] เป็นครีมผงหรือน้ำที่ใช้ทดแทนนมหรือครีม เพื่อจะเติมรสชาติในกาแฟและเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีแล็กโทสและดังนั้นจึงถือกันว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ทำจากนม แม้ว่าจะมีสารเคซีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำมาจากนม พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 





หากจะพูดถึงครีมเทียม ผงสีขาว ๆ หรือของเหลวสีขาวข้นที่มีกลิ่นหอมเหมือนนม ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในเครื่องดื่มแก้วโปรดของใครหลายคน เชื่อว่าคนจำนวนมากคงเชื่ออย่างสนิทใจว่ามันเป็นส่วนผสมที่ถูกแปรรูปมาจากนม หรือมีนมเป็นส่วนประกอบหลักอย่างแน่นอน และนั่นจึงก่อให้เกิดกระแสช็อกผู้บริโภคในวงกว้าง เมื่อโลกออนไลน์ได้มีการแชร์ต่อคลิป เปิดความลับในครีมเทียม ที่ออกมาแฉหมดเปลือกถึงกระบวนการผลิตและส่วนผสมของครีมเทียมที่ถูกผลิตออกสู่ท้องตลาด เผยให้เราได้เห็นกันชัด ๆ ว่าแท้จริงแล้ว ครีมเทียมทำมาจากอะไร
               โดยจากคลิปที่ถูกส่งต่อกันทั่วโลกออนไลน์ในขณะนี้ เป็นเทปบันทึกภาพรายการ Sponge ฉลาดสุดสุด ซึ่งได้ออกอากาศไปเมื่อเดือนกันยายน 2554 เผยให้เห็นว่าแท้ที่จริงแล้วครีมเทียมที่หอมหวาน เพิ่มความมันและกลมกล่อมให้แก่เครื่องดื่มถ้วยโปรดของเรานั้น ผลิตขึ้นจากสารปรุงแต่ง 8 อย่าง ประกอบด้วย

1. เจลาติน สารปรุงแต่งอาหารที่สกัดจากกระดูกอ่อน เส้นเอ็น และหนังของสัตว์

เปิดความลับ ครีมเทียม ทำมาจากอะไร...งานนี้มีอึ้งแน่นอน

2. ช็อทเทนนิ่ง ไขมันทรานส์ที่มักใช้ในการทอดอาหาร


เปิดความลับ ครีมเทียม ทำมาจากอะไร...งานนี้มีอึ้งแน่นอน  เปิดความลับ ครีมเทียม ทำมาจากอะไร...งานนี้มีอึ้งแน่นอน

3. อิมัลซิไฟเออร์ สารเคมีสังเคราะห์ 100% ที่ทำให้น้ำกับน้ำมันผสมกันได้

เปิดความลับ ครีมเทียม ทำมาจากอะไร...งานนี้มีอึ้งแน่นอน

4. สีคาราเมล 


5. ไซรัป หรือน้ำเชื่อม 

6. กลิ่นวานิลลา


7. โซเดียมเคซีเนต สารที่ใช้เลียนแบบกลิ่นและรสของนม



8. คาราจีแนน ช่วยป้องกันการตกตะกอนและทำให้ส่วนผสมต่าง ๆ เข้ากันได้ดี


               สำหรับขั้นตอนในการทำครีมเทียมก็แสนง่าย เพียงแค่ใส่สารปรุงแต่งทุกอย่างในปริมาณที่กำหนดไว้เข้าด้วยกัน ก่อนปั่นรวมเป็นเนื้อเดียว เราก็จะได้ของเหลวสีขาวข้น ที่มีทั้งรสชาติและกลิ่นเหมือนนมไม่มีผิด ทั้งที่ไม่มีส่วนผสมของนมเลยแม้แต่หยดเดียว เพราะรสชาติและกลิ่นดังกล่าวล้วนเกิดจากสารโซเดียมเคซีเนตทั้งสิ้น เนื่องจากนมเป็นส่วนผสมที่มีราคาแพงทางผู้ผลิตจึงต้องใช้สารปรุงแต่งเพื่อลดต้นทุนนั่นเอง

               อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ชวนช็อกนั้นไม่ได้มีเฉพาะความจริงที่ครีมเทียมไม่ได้ทำมาจากนมเท่านั้น เพราะจากรายการดังกล่าวได้เผยให้เราได้เห็นว่า ในส่วนผสมทั้งหมดในการผลิตครีมเทียมนั้น ยังประกอบไปด้วยสารอิมัลซิไฟเออร์ ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายที่ถูกนำมาใช้ในการกำจัดคราบน้ำมันเมื่อครั้งเกิดเหตุเรือบรรทุกน้ำมันรั่วบริเวณชายฝั่งทะเลของเกาหลี

               โดยสารอิมัลซิไฟเออร์ เป็นสารเคมีสังเคราะห์ 100% ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมและอาหาร แม้อิมัลซิไฟเออร์จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายโดยตรง แต่หากบริโภคในปริมาณมากก็อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายสูง เพราะสารตัวนี้จะเร่งการดูดซึมสารเคมีต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำ ซึ่งหากอาหารที่เราทานมีส่วนประกอบที่เป็นอันตราย สารอิมัลซิไฟเออร์ก็จะเร่งให้สารประกอบที่เป็นอันตรายเหล่านั้นถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็วขึ้น 

ยูโรโซน

 ยูโรโซน



ยูโรโซน หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า พื้นที่ยูโร[1] เป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 รัฐ (ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558) ซึ่งใช้เงินสกุลยูโรเป็นสกุลเงินร่วม และเป็นเงินสกุลเดียวที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ยูโรโซนปัจจุบันประกอบด้วยออสเตรีย เบลเยียมไซปรัส เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซไอร์แลนด์ อิตาลี ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก ลัตเวีย มอลตาเนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย สโลวีเนีย และสเปน รัฐสหภาพยุโรปอื่นส่วนใหญ่ถูกผูกมัดให้เข้าร่วมเมื่อรัฐนั้นผ่านเกณฑ์การเข้าร่วม ไม่มีรัฐใดออกจากกลุ่มและไม่มีข้อกำหนดในการออกหรือขับสมาชิกออก
นโยบายการเงินของโซนเป็นความรับผิดชอบของธนาคารกลางยุโรป ซึ่งควบคุมโดยประธานและคณะกรรมการหัวหน้าธนาคารกลางแห่งชาติ งานหลักของธนาคารกลางยุโรปคือ รักษาเงินเฟ้อให้อยู่ภายใต้การควบคุมแม้ไม่มีการเป็นผู้แทนร่วม วิธีการปกครองหรือนโยบายการคลังของสหภาพการเงิน มีการร่วมมือเกิดขึ้นบ้างผ่านกลุ่มยูโร ซึ่งดำเนินการตัดสินใจทางการเมืองเกี่ยวข้องกับยูโรโซนและสกุลเงินยูโร กลุ่มยูโรประกอบด้วยรัฐมนตรีคลังของรัฐสมาชิกยูโรโซน อย่างไรก็ดี ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้นำแห่งชาติอาจตั้งกลุ่มยูโรได้เช่นกัน
นับแต่วิกฤตการณ์การเงินปลายปี พ.ศ. 2543 ยูโรโซนได้ตั้งและใช้ข้อกำหนดสำหรับการให้เงินกู้ยืมฉุกเฉินแก่รัฐสมาชิกโดยแลกกับการตรากฎหมายปฏิรูปเศรษฐกิจ ยูโรโซนยังบัญญัติการบูรณาการการคลังบ้าง ตัวอย่างเช่น ในการกลั่นกรองงบประมาณแห่งชาติของประเทศอื่น ปัญหานี้เกี่ยวกับการเมืองอย่างสูงและในสภาพการไหลจนถึง พ.ศ. 2554 ในแง่ของข้อกำหนดเพิ่มเติมจะมีการตกลงสำหรับการปฏิรูปยูโรโซน
ในโอกาสที่ยูโรโซนขยายไปครอบคลุมสมาชิกที่ไม่ได้อยู่ในสหภาพยุโรป แต่ใช้เงินยูโรเป็นสกุลเงินทางการ บางประเทศเหล่านี้ อย่างซานมารีโน ได้สรุปความตกลงอย่างเป็นทางการกับสหภาพยุโรปในการใช้สกุลเงินและผลิตเหรียญกษาปณ์ของตนเอง[2] ประเทศอื่น เช่น คอซอวอและมอนเตเนโกร รับเงินยูโรฝ่ายเดียว อย่างไรก็ดี ประเทศเหล่านี้มิได้นับรวมเป็นส่วนหนึ่งของยูโรโซนอย่างเป็นทางการ และไม่มีผู้แทนในธนาคารกลางยุโรปหรือกลุ่มยูโร 
หลังจากที่เราทราบประวัติและที่มาของสกุลเงินยูโรกันไปแล้ว วันนี้เรามาดูความหมายของยูโรโซนกันบ้าง ยูโรโซน หมายถึง กลุ่มประเทศที่อยู่ในแถบทวีปยุโรป แต่มีเพียง 17 ประเทศเท่านั้นที่ตกลงเข้าร่วมระบบและใช้สกุลเงินยูโรร่วมกัน โดยมีธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank) หรือ ECB ที่ก่อตั้งขึ้นโดยสหภาพยุโรป เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินนโยบายการเงินของยูโรโซน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี   เป็นองค์กรที่สำคัญของ Eurosystem

ประเทศที่เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มยูโรโซนมีทั้งหมด “6” ประเทศ คือ

  • ประเทศเบลเยี่ยม เมืองหลวงคือ กรุงบรัสเซลส์ มีประชากรประมาณ 11.2 ล้านคน
  • ประเทศฝรั่งเศส เมืองหลวงคือ กรุงปารีส มีประชากรประมาณ 66.6 ล้านคน
  • ประเทศเยอรมนี เมืองหลวงคือ กรุงเบอร์ลิน มีประชากรประมาณ 82.1 ล้านคน
  • ประเทศอิตาลี เมืองหลวงคือ กรุงโรม มีประชากรประมาณ 60.6 ล้านคน
  • ประเทศลักเซมเบิร์ก เมืองหลวงคือ ลักเซมเบิร์ก  มีประชากรประมาณ 5 แสนคน
  • ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมืองหลวงคือ กรุงอัมสเตอร์ดัม มีประชากรประมาณ 16.9 ล้านคน

ประเทศที่เข้าร่วมกลุ่มยูโรโซน มีดังนี้

  • ประเทศออสเตรีย หรือ สาธารณรัฐออสเตรีย เมืองหลวงคือ กรุงเวียนนา เข้าร่วมกลุ่มยูโรโซน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 มีประชากรประมาณ 8.7 ล้านคน
  • ประเทศไซปรัส เมืองหลวงคือ นิโคเซีย เข้าร่วมกลุ่มยูโรโซน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 มีประชากรประมาณ 8 แสนคน
  • ประเทศเอสโตเนีย เมืองหลวงคือ ทาลลินน์ เข้ากลุ่มยูโรโซน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 มีประชากรประมาณ 1.3 ล้านคน
  • ประเทศฟินแลนด์ เมืองหลวงคือ เฮลซิงกิ เข้าร่วมกลุ่มยูโรโซน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 มีประชากรประมาณ 5.4 ล้านคน
  • ประเทศกรีซ เมืองหลวงคือ กรุงเอเธนส์ เข้าร่วมกลุ่มยูโรโซนเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2524 มีประชากรประมาณ 10.7 ล้านคน
  • ประเทศไอร์แลนด์ เมืองหลวงคือ ดับลิน เข้าร่วมกลุ่มยูโรโซนเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2516 มีประชากรประมาณ 4.6 ล้านคน
  • ประเทศสเปน เมืองหลวงคือ กรุงมาดริด เข้าร่วมกลุ่มยูโรโซนเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2529 มีประชากรประมาณ 46.4 ล้านคน
  • ประเทศสโลเวเนีย เมืองหลวงคือ ลูบลิยานา เข้าร่วมกลุ่มยูโรโซนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน
  • ประเทศสโลวาเกีย เมืองหลวงคือ บราติสลาวา เข้าร่วมกลุ่มยูโรโซนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 มีประชากรประมาณ 5.4 ล้านคน
  • ประเทศมอลตา เมืองหลวงคือ กรุงวัลเลตตา เข้าร่วมกลุ่มยูโรโซนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 มีประชากรประมาณ 4 แสนคน
  • ประเทศโปรตุเกส เมืองหลวงคือ กรุงลิสบอน เข้าร่วมกลุ่มยูโรโซนเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2529 มีประชากรประมาณ 10.3 ล้านคน
การรวมกลุ่มยูโรโซนนี้ ประเทศสมาชิกต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดเงื่อนไขไว้อย่างเข้มงวด แต่ก็ไม่มีข้อกำหนดในการขับสมาชิกออก อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกสามารถออกธนบัตร และ เหรียญยูโรได้ แต่ต้องได้รับการอนุญาต จาก ECB หรือ ธนาคารกลางยุโรปก่อน