โครงงานเรื่อง ขนมทองหยอด

จัดทำโดย
นางสาว ธัญพร สงสุคนธ์
โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม
รายงานฉบัับนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานรายวิชา
การศึกษาค้นคว้า
เกี่ยวกับโครงงาน
ชื่อโครงงาน(การศึกษาและค้นคว้า)
: ขนมทองหยอด
ผู้จัดทำ ; นางสาว ธัญพร สงสุคนธ์
ที่ปรึกษา ; คุณครู เกรียงไกร ทองชื่นจิต
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประวัติและวิธีการทำทองหยอดที่ถูกวิธีแลอร่อย ทองหยอดสามารถรับประทานเป็นอาหารว่างได้ทีเดียวซึ่งทองหยอดเป็นขนมหวานที่เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง และถือเป็นช่วยอนุรักษ์สูตรขนมไทยและวัฒนธรรมไทยด้วย เป็นสูตรเก่าแก่จากคนเก่าแก่ ที่ควรอนุรักษ์กันไว้ และการจัดทำโครงงานครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเนื่องจากได้คำปรึกษาจากอาจารย์ เกรียงไกร ทองชื่นจิต กลุ่มของพวกเราจึงขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้
บทคัดย่อ
เนื่องจากในปัจจุบันมีวัฒนธรรมชาวประเทศต่างๆได้เข้ามาเผยแพร่ขนมของแต่ละประเทศ มีเข้ามาผลิตในประเทศเยอะแยะมากมาย จนทำให้หลายๆคนลืมขนมไทยในประเทศบ้านเกิดเราไป ขนมชาติอื่นไม่มีอะไรอร่อยเท่าบ้านเรา ในสมัยโบราณที่มีการรับประทานขนมไทยหลังจากการรับประทานอาหารเสร็จแล้วทั้งที่ขนมไทยนั้นนอกจากมีสีสันสวยงามแล้วยังมีประโยชน์มากมายที่น่าสนใจด้วย
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
จากการศึกษาพบว่าขนมทองหยอดเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทของหวานสำหรับรับประทานเล่น เหมาะสำหรับทุกรุ่น ทุกวัย เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับซื้อเป็นของฝากทุกเทศกาลอย่างยิ่ง ซึ่งขนมทองหยอดเป็นขนมไทยที่มีความหมาย
คณะผู้จัดทำจึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกรรมวิธีในการทำขนมทองหยอดและได้นำมาเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำขนมไทยให้สร้างสรรค์และให้ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจจะศึกษาได้เป็นอย่างดี ทำให้ขนมทองหยอดเป็นที่รู้จักโดยทั่วกัน
คณะผู้จัดทำจึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกรรมวิธีในการทำขนมทองหยอดและได้นำมาเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำขนมไทยให้สร้างสรรค์และให้ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจจะศึกษาได้เป็นอย่างดี ทำให้ขนมทองหยอดเป็นที่รู้จักโดยทั่วกัน
จุดประสงค์ของการศึกษา
- เพื่อทำให้มีขนมหวานที่เราจะได้ทานในเวลาว่าง
- เพื่อฝึกการทำงานเป็นหมู่คณะ
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1. ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ เรื่อง ขนมทองหยอดจากอินเทอร์เน็ต
2. ศึกษาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือผู้รู้ ประสบการณ์มาสร้างสรรค์และประยุกต์การทำขนมทองหยอด
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาใช้เวลารวม 1 เดือน 10วัน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
• ได้เรียนรู้และสามารถทำขนมทองหยอดที่ศึกษาได้จริง
• สามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับจกการศึกษาเรื่องขนมทองหยอดไปใช้ประโยชน์ได้ จริง
• สามารถทำขนมทองหยอดให้เป็นของฝากและอาหารหวานได้
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ประวัติขนมทองหยิบ-ทองหยอดประวัติ ทองหยิบ-ทองหยอดเมื่อสมัยอยุธยาเริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย “มารี กีมาร์” หรือ “ท้าวทองกีบม้า” “ท้าวทองกีบม้า” หรือ “มารี กีมาร์” เกิดเมื่อ พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 แต่บางแห่งก็ว่า พ.ศ. 2209 โดยยึดหลักจากการแต่งงานของเธอที่มีขึ้นในปี พ.ศ. 2225 และขณะนั้น มารี กีมาร์ มีอายุเพียง 16 ปี บิดาชื่อ“ฟานิก (Phanick)” เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล ผู้เคร่งศาสนา ส่วนมารดาชื่อ “อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada)” ซึ่งมีเชื่อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเดินทางเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่นานนักชีวิตช่วงหนึ่งของ “ท้าวทองกีบม้า” ได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่ง “หัวหน้าห้องเครื่องต้น” ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทองพระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆ เหล่านั้น ได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่า “มารี กีมาร์” หรือ “ท้าวทองกีบม้า” จะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ แต่เธอก็เกิด เติบโต มีชีวิตอยูในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย นอกจากนั้น ยังได้ทิ้งสิ่งที่เธอค้นคิดให้เป็นมรดกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ได้กล่าวขวัญถึงด้วยความภาคภูมิ “ท้าวทองกีบม้า เจ้าตำรับอาหารไทย”http://www.geocities.com/nettyko/index1.htmทองหยิบทองหยิบ เป็นขนมโบราณที่อยู่ในชุดของขนมที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่นกันเพราะขึ้น ต้นด้วยทองซึ่งมีลักษณะและสีคล้ายกัน ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ดังนั้น เมื่อนำมาใช้ในพิธีจะใช้เป็นชุดทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะถือเคล็ดที่ชื่อขนมขึ้นต้นด้วยทอง แล้ว ยังถือเคล็ดชื่อต่อท้ายคือหยิบ ซึ่งหมายถึง หยิบเงิน หยิบทองอันจะนำไปสู่ความ ร่ำรวยต่อไปทองหยอดทองหยอดเป็นขนมโบราณชนิดหนึ่งซึ่งท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ หรือนามเดิม มารี นินยา เดอกีย์มาร์ เชื้อสายญี่ปุ่น –โปรตุเกส ภรรยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (นามเดิมคอนสแตนตินฟอลคอลชาวกรีก) ท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ มีตำแหน่งเป็นท้าวทองกีบม้า เป็นตำแหน่ง ผู้ปรุงอาหารหลวงโดยท่านได้นำเอาความรู้ที่มีมาแต่เดิมผสมผสานกับความรู้ท้องถิ่นปรุงแต่งอาหารขึ้นใหม่ จนเป็นที่รู้จัก คือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง (เดิมชาวโปรตุเกส กินกับเนื้อย่างเป็นอาหารคาว)นับเป็นขนมชั้นดี ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ ซึ่งคนไทยเรายังถือ เคล็ดกันอยู่จึงใช้ขนมที่ขึ้นต้นด้วยทอง เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลตามชื่อขนม
วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์
1.ไข่เป็ด
2.น้ำตาลทราย
3.แป้งทองหยอด
หรือ แป้งข้าวเจ้า
4.กระทะ, ตะหลิว
5.ส้อม, ช้อน
6.ชาม
7.น้ำลอยดอกมะลิ
วิธีทำ
1. ผสมน้ำ น้ำตาลทราย ตั้งไฟให้เดือดพอเหนียว ตักน้ำเชื่อมขึ้นไว้สำหรับลอยทองหยอด ที่เหลือตั้งไฟต่อไปให้น้ำเชื่อมเหนียว
2. แยกไข่แดง ไข่ขาว
3. ตีไข่แดงให้ขึ้น ค่อยๆ ใส่แป้งทองหยอดแล้วคนให้เข้ากัน
4. หยอดไข่ที่ตีแล้วลงในน้ำเชื่อมที่ตั้งอยู่บนไฟ ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางเป็นตัวกำหนด ต้องการลูกเล็กหรือใหญ่ตามชอบ นิ้วหัวแม่มือจะเป็นนิ้วที่ช่วยรูดแป้งลงที่ปลายนิ้ว แล้วจึงสะบัดไข่ลงในน้ำเชื่อม
5. เมื่อทองหยอดสุกลอยขึ้น ตักใส่ในน้ำเชื่อมสำหรับลอย
วัสดุที่ใช้ทำ
1
1. น้ำลอยดอกมะลิ
1. น้ำลอยดอกมะลิ
2 2.ไข่เป็ด
3 3.น้ำตาลทราย
4.แป้งข้าวเจ้า
ส่วนผสมของขนมทองหยอด
ไข่เป็ด
20 ฟอง
แป้งข้าวเจ้า 10 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง
น้ำลายดอกไม้ ½ ถ้วยตวง
วิธีทำขนมทองหยอด
1. แยกไข่แดงและไข่ขาออกจากกัน ใช้แต่ไข่แดงตีให้ไข่แดงฟูขึ้นมากๆ
แล้วใส่แป้งข้าวเจ้าคนเร็วๆให้เข้ากัน
2. ผสมน้ำลอยดอกไม้กับน้ำตาลทรายตั้งไฟแรงให้น้ำตาลเดือดพล่านเคี่ยวประมาณ
10-20 นาทีให้น้ำเชื่อมข้น แบ่งส่วนหนึ่ง
ไว้สำหรับแช่ทองหยอดที่สุกแล้วส่วนที่เหลือตั้งไฟไว้สำหรับ หยอดทองหยอด
3. ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางตักแป้งและใช้นิ้วหัวแม่มือสะบัดแป้งลงในกระทะที่ตั้ง
น้ำเชื่อมไว้ทำวิธีนี้จนเต็มกระทะ พอแป้งสุกลอยตัวตักขึ้นพักไว้
ผลการศึกษา
จากการศึกษาค้นคว้าและฝึกทำขนมทองหยอด
ผลที่ได้คือพวกเราได้เรียนรู้วิธีการทำ ขนมที่ถูกวิธีและได้สูตรทำขนมทองหยอดแบบงายๆและเข้าใจมากด้วย
สรุปผลและอภิปราย
สรุป
การทำโครงงานขนมทองหยอดครั้งนี้ทำให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลและปฏิบัติเป็นรูปเล่มโครงงานและทำเป็นขนนมหวานเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ และนอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาวิธีการทำ และลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจึงทำให้งานสำเร็จไปได้ด้วยดี
อภิปราย
จากที่คณะกลุ่มของเราได้ทำขนมทองหยอดซึ่งขนมทองหยอดเป็นอาหารหวานที่สามารถทานในเวลาว่างและยังสามารถเป็นของฝากได้อีกด้วย
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้ฝึกการทำขนมทองหยอด
2. เพื่อสามารถทำขนมหวานที่ใช้รับประทานในเวลาว่างได้
3.เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
เอกสารอ้างอิง
https://sites.google.com/site/auspiciousdessert018/9thai-dessert/thongyod