วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สนธิสัญญาปารีส

ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ในกรุงปารีส เห็นชอบร่างข้อตกลงลดโลกร้อนฉบับสมบูรณ์แล้ว ลดการใช้ถ่านหิน-น้ำมันดิบ-ก๊าซให้หันมาใช้พลังงานจากแสงแดดและพลังงานลมทดแทน มอบเงิน 100,000 ล้านดอลลาร์ให้ประเทศยากจนช่วยทำให้โลกเป็นสีเขียวขึ้น
เมื่อวันที่ 12 ันวาคม 2558 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ ซีโอพี 21 (COP21) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีมติเห็นชอบร่างข้อตกลงว่าด้วยการลดก๊าซเรือนกระจกฉบับสมบูรณ์แล้ว หลังการประชุมต่อเนื่องมานานถึง 2 สัปดาห์
ที่ประชุมบรรลุร่างข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ที่เรียกว่า สนธิสัญญาปารีส เมื่อช่วงเช้าวันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม ก่อนที่ผู้แทนส่วนใหญ่จาก 196 ประเทศในที่ประชุมจะลงมติเห็นชอบในช่วงบ่าย ข้อตกลงปารีส ตั้งเป้าหมายจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเฉลี่ยไม่ให้เกิน องศาเซลเซียสจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมและจะจำกัดไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสหากเป็นไปได้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases) ให้ได้ภายในครึ่งหลังของศตวรรษนี้และจะมีการทบทวนความคืบหน้าทุกๆ 5 ปี
แม้ที่ประชุมจะเห็นชอบก็ตามแต่ละประเทศจะต้องนำไปให้รัฐสภาในประเทศของตนเห็นชอบกับสนธิสัญญาปารีส จากนั้นจึงให้สัตยาบัน (รับรอง) ต้องมีอย่างน้อย 55 ประเทศให้สัตยาบัน และประเทศเหล่านั้นต้องมีอัตราปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันคิดเป็น 55% ของโลกขึ้นไป ข้อตกลงจึงจะมีผลบังคับใช้
ทั้งนี้ หากประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดอย่างเช่นจีนและสหรัฐฯ มีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็น 24% และ 14% ของโลกตามลำดับ ไม่ร่วมลงนาม การบังคับใช้สนธิสัญญาปารีสก็จะกลายเป็นเรื่องยาก
ทางด้านกลุ่มนักเคลื่อนไหวขององค์กร 'โกลบอล จัสติซ นาวของอังกฤษ ออกมาโจมตีสนธิสัญญานี้ว่า แทบไม่มีข้อผูกมัดเพื่อรับประกันว่าสภาพอากาศจะมีความปลอยภัยสำหรับคนรุ่นต่อๆไป 
สนธิสัญญาปารีสมีข้อผูกมัดทางกฎหมายบางส่วนเช่น การส่งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการทบทวนเป้าหมายดังกล่าวเป็นประจำ แต่ไม่กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แต่ละประเทศจะต้องทำให้ได้
ทางด้านนายโลรองท์ ฟาเบียส รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสกล่าวว่าสนธิสัญญาปารีสนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป ด้วยการจำกัดภาวะโลกร้อนที่มีผลต่อสภาพภูมิอากาศเช่นการเพิ่มระดับของน้ำทะเล,ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นอย่างเลวร้าย,เกิดน้ำท่วมฉับพลันและพายุกระหน่ำโลก 
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวตอบรับด้วยความยินดีกับสนธิสัญญานี้ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของโลกในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอากาศ สนธิสัญญานี้เป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของพวกเราในการที่จะรักษาดาวพระเคราะห์ที่เราอยู่อาศัย เรามารวมตัวกันทั่วโลกและมีข้อตกลงที่โลกต้องการ และเราก็ได้พบแล้ว
อย่างไรก็ตามมีข้อวิจารณ์ว่าความพยายามจำกัดภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ไม่ได้มีข้อกำหนดหรือเป้าหมายที่ชัดเจน  เป็นเพียงการสร้างระบบขึ้นมาเพื่อให้แต่ละประเทศร่วมมือและสมัครใจเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกด้วยตัวเอง แต่ก็จะมีการมอบเงินหลายพันล้านดอลลาร์ให้กับประเทศยากจนเพื่อช่วยทำให้ประเทศของตนกลายเป็นเศรษฐกิจสีเขียวมากขึ้น
ความพยายามขององค์การสหประชาชาติที่จะลดภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศมีมาตั้งแต่ปี 1992  จนกระทั่งปี 1997 มีการลงนามร่วมกันในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจำจำนวนมากขึ้นสู่ชั้นผิวของบรรยากาศ โดยเรียกว่าสนธิสัญญาขั้นต้นเกียวโต (the Kyoto Protocol) แต่หลายประเทศไม่เห็นด้วย 
ในปี 2009 มีการประชุมที่กรุงโคเปนเฮเกน ผลสรุปก็คือเกิดความโกลาหลและความผิดหวังของฝ่ายต่างๆที่มาร่วมประชุม
จนกระทั่งการประชุมที่กรุงปารีสในปี 2015 สามารถบรรลุข้อตกลงได้แต่ก็ไม่ได้มีมาตรการบังคับ
สรุปจากสนธิสัญญา
1.จำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเฉลี่ยไม่ให้เกิน องศาเซลเซียสจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมและจะจำกัดไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสหากเป็นไปได้
2.ลดก๊าซเรือนกระจกทันทีทันใดเท่าที่จะทำได้   
3.จำกัดการใช้ถ่านหิน,น้ำมันดิบและก๊าซเป็นพลังงาน 
4.น้ำมันจากถ่านหิน (Fossil fuels)จะต้องใช้ทดแทนโดยพลังงานจากแสงแดดและพลังงานจากลม  

5.ประเทศที่กำลังพัฒนาจะได้รับเงินช่วยลดก๊าซเรือนกระจก 100,000 ล้านดอลลาร์ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น