สนธิสัญญาโรม มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดยเบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์กเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีตะวันตก คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของสหภาพยุโรป เมื่อสนธิสัญญาลิสบอนมามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009
ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป
ผู้นำยุโรปรวมตัวกันที่กรุงโรมอิตาลีฉลองวันเกิดสหภาพยุโรป ที่ถือกำเนิดมาจากสนธิสัญญาโรมเมื่อ 60 ปีก่อน
เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2500 หกชาติสมาชิกก่อตั้งสหภาพยุโรป (อียู) ประกอบด้วยเบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนีตะวันตก ลงนามร่วมกันในสนธิสัญญาโรมก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (อีอีซี) ที่พัฒนามาจนมีสมาชิก 28 ประเทศในวันนี้ และก่อตั้งประชาคมพลังงานประมาณูยุโรป (ยูราทอม) มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.2501 แต่ก่อนหน้านั้นชาติยุโรปเคยก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า เมื่อปี 2494 เพื่อรวมตลาดวัตถุดิบสำคัญสองชนิดซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมและการบูรณะประเทศช่วงหลังสงครามโลก
วัตถุประสงค์ของสนธิสัญญาอีอีซีคือตั้งตลาดร่วมภายใน 12 ปี รัฐสมาชิกเห็นชอบลดอุปสรรคการค้าภายในประเทศ และส่งเสริมให้คน สินค้า บริการ และทุนเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ส่วนสนธิสัญญายูราทอมกำหนดหลักการพื้นฐานในการใช้พลังงานปรมาณูด้านพลเรือน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น