วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สนธิสัญญาคืออะไร

สนธิสัญญา (Treaty)



หมายถึง ความตกลงระหว่างประเทศที่ทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ระหว่างบุคคลในระหว่างประเทศ (รัฐกับรัฐ หรือรัฐกับองค์การระหว่างประเทศ หรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศกับองค์การระหว่างประเทศ) และอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ โดยมุ่งก่อให้เกิดสิทธิและพันธะทางกฎหมายแก่ภาคีของสนธิสัญญา ไม่ว่าจะทำขึ้นเป็นฉบับเดียวหรือหลายฉบับผนวกกัน
นอกจากนี้ สนธิสัญญาอาจมีชื่อเรียกได้หลายอย่างขึ้นกับองค์ประกอบและปัจจัย เช่น สนธิสัญญา (Treaty) อนุสัญญา (Convention) พิธีสาร (Protocol) ข้อตกลง (Agreement) ความตกลง (Arrangement) เป็นต้น









สนธิสัญญาปารีส

ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ในกรุงปารีส เห็นชอบร่างข้อตกลงลดโลกร้อนฉบับสมบูรณ์แล้ว ลดการใช้ถ่านหิน-น้ำมันดิบ-ก๊าซให้หันมาใช้พลังงานจากแสงแดดและพลังงานลมทดแทน มอบเงิน 100,000 ล้านดอลลาร์ให้ประเทศยากจนช่วยทำให้โลกเป็นสีเขียวขึ้น
เมื่อวันที่ 12 ันวาคม 2558 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ ซีโอพี 21 (COP21) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีมติเห็นชอบร่างข้อตกลงว่าด้วยการลดก๊าซเรือนกระจกฉบับสมบูรณ์แล้ว หลังการประชุมต่อเนื่องมานานถึง 2 สัปดาห์
ที่ประชุมบรรลุร่างข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ที่เรียกว่า สนธิสัญญาปารีส เมื่อช่วงเช้าวันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม ก่อนที่ผู้แทนส่วนใหญ่จาก 196 ประเทศในที่ประชุมจะลงมติเห็นชอบในช่วงบ่าย ข้อตกลงปารีส ตั้งเป้าหมายจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเฉลี่ยไม่ให้เกิน องศาเซลเซียสจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมและจะจำกัดไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสหากเป็นไปได้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases) ให้ได้ภายในครึ่งหลังของศตวรรษนี้และจะมีการทบทวนความคืบหน้าทุกๆ 5 ปี
แม้ที่ประชุมจะเห็นชอบก็ตามแต่ละประเทศจะต้องนำไปให้รัฐสภาในประเทศของตนเห็นชอบกับสนธิสัญญาปารีส จากนั้นจึงให้สัตยาบัน (รับรอง) ต้องมีอย่างน้อย 55 ประเทศให้สัตยาบัน และประเทศเหล่านั้นต้องมีอัตราปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันคิดเป็น 55% ของโลกขึ้นไป ข้อตกลงจึงจะมีผลบังคับใช้
ทั้งนี้ หากประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดอย่างเช่นจีนและสหรัฐฯ มีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็น 24% และ 14% ของโลกตามลำดับ ไม่ร่วมลงนาม การบังคับใช้สนธิสัญญาปารีสก็จะกลายเป็นเรื่องยาก
ทางด้านกลุ่มนักเคลื่อนไหวขององค์กร 'โกลบอล จัสติซ นาวของอังกฤษ ออกมาโจมตีสนธิสัญญานี้ว่า แทบไม่มีข้อผูกมัดเพื่อรับประกันว่าสภาพอากาศจะมีความปลอยภัยสำหรับคนรุ่นต่อๆไป 
สนธิสัญญาปารีสมีข้อผูกมัดทางกฎหมายบางส่วนเช่น การส่งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการทบทวนเป้าหมายดังกล่าวเป็นประจำ แต่ไม่กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แต่ละประเทศจะต้องทำให้ได้
ทางด้านนายโลรองท์ ฟาเบียส รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสกล่าวว่าสนธิสัญญาปารีสนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป ด้วยการจำกัดภาวะโลกร้อนที่มีผลต่อสภาพภูมิอากาศเช่นการเพิ่มระดับของน้ำทะเล,ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นอย่างเลวร้าย,เกิดน้ำท่วมฉับพลันและพายุกระหน่ำโลก 
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวตอบรับด้วยความยินดีกับสนธิสัญญานี้ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของโลกในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอากาศ สนธิสัญญานี้เป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของพวกเราในการที่จะรักษาดาวพระเคราะห์ที่เราอยู่อาศัย เรามารวมตัวกันทั่วโลกและมีข้อตกลงที่โลกต้องการ และเราก็ได้พบแล้ว
อย่างไรก็ตามมีข้อวิจารณ์ว่าความพยายามจำกัดภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ไม่ได้มีข้อกำหนดหรือเป้าหมายที่ชัดเจน  เป็นเพียงการสร้างระบบขึ้นมาเพื่อให้แต่ละประเทศร่วมมือและสมัครใจเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกด้วยตัวเอง แต่ก็จะมีการมอบเงินหลายพันล้านดอลลาร์ให้กับประเทศยากจนเพื่อช่วยทำให้ประเทศของตนกลายเป็นเศรษฐกิจสีเขียวมากขึ้น
ความพยายามขององค์การสหประชาชาติที่จะลดภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศมีมาตั้งแต่ปี 1992  จนกระทั่งปี 1997 มีการลงนามร่วมกันในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจำจำนวนมากขึ้นสู่ชั้นผิวของบรรยากาศ โดยเรียกว่าสนธิสัญญาขั้นต้นเกียวโต (the Kyoto Protocol) แต่หลายประเทศไม่เห็นด้วย 
ในปี 2009 มีการประชุมที่กรุงโคเปนเฮเกน ผลสรุปก็คือเกิดความโกลาหลและความผิดหวังของฝ่ายต่างๆที่มาร่วมประชุม
จนกระทั่งการประชุมที่กรุงปารีสในปี 2015 สามารถบรรลุข้อตกลงได้แต่ก็ไม่ได้มีมาตรการบังคับ
สรุปจากสนธิสัญญา
1.จำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเฉลี่ยไม่ให้เกิน องศาเซลเซียสจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมและจะจำกัดไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสหากเป็นไปได้
2.ลดก๊าซเรือนกระจกทันทีทันใดเท่าที่จะทำได้   
3.จำกัดการใช้ถ่านหิน,น้ำมันดิบและก๊าซเป็นพลังงาน 
4.น้ำมันจากถ่านหิน (Fossil fuels)จะต้องใช้ทดแทนโดยพลังงานจากแสงแดดและพลังงานจากลม  

5.ประเทศที่กำลังพัฒนาจะได้รับเงินช่วยลดก๊าซเรือนกระจก 100,000 ล้านดอลลาร์ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป 

สนธิสัญญาริโอ

สนธิสัญญาริโอ

เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกรานต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดยสันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนา

ทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา

สนธิสัญญาโรม

สนธิสัญญาโรม มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดยเบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์กเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีตะวันตก คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของสหภาพยุโรป เมื่อสนธิสัญญาลิสบอนมามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009
ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป 

ผู้นำยุโรปรวมตัวกันที่กรุงโรมอิตาลีฉลองวันเกิดสหภาพยุโรป ที่ถือกำเนิดมาจากสนธิสัญญาโรมเมื่อ 60 ปีก่อน
เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2500 หกชาติสมาชิกก่อตั้งสหภาพยุโรป (อียู) ประกอบด้วยเบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนีตะวันตก ลงนามร่วมกันในสนธิสัญญาโรมก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (อีอีซี) ที่พัฒนามาจนมีสมาชิก 28 ประเทศในวันนี้ และก่อตั้งประชาคมพลังงานประมาณูยุโรป (ยูราทอม) มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.2501 แต่ก่อนหน้านั้นชาติยุโรปเคยก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า เมื่อปี 2494 เพื่อรวมตลาดวัตถุดิบสำคัญสองชนิดซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมและการบูรณะประเทศช่วงหลังสงครามโลก
วัตถุประสงค์ของสนธิสัญญาอีอีซีคือตั้งตลาดร่วมภายใน 12 ปี รัฐสมาชิกเห็นชอบลดอุปสรรคการค้าภายในประเทศ และส่งเสริมให้คน สินค้า บริการ และทุนเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ส่วนสนธิสัญญายูราทอมกำหนดหลักการพื้นฐานในการใช้พลังงานปรมาณูด้านพลเรือน

สนธิสัญญาโตเกียว




อนุสัญญาโตเกียว (อังกฤษTokyo Conventionอนุสัญญาสันติภาพโตเกียว หรือ สนธิสัญญาโตกิโอ[1], เนื่องจากแต่ก่อนคนไทยเรียกกรุงโตเกียวว่ากรุงโตกิโอ) เป็นอนุสัญญาสืบเนื่องมาจากกรณีพิพาทอินโดจีนในปี พ.ศ. 2484 ขณะที่การรบยังไม่สิ้นสุดนั้น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในเอเชียขณะนั้น ได้เข้ามาไกล่เกลี่ย ซึ่งประเทศไทยและฝรั่งเศสได้ตกลง และหยุดยิงในว้นที่ 28 มกราคมพ.ศ. 2484 ก่อนจะมีการเจรจากันในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2484[1] ณ กรุงโตเกียว โดยมีนายโซสุเกะ มัดซูโอกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น ฝ่ายไทยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงการต่างประเทศไทยเป็นหัวหน้าคณะ และฝ่ายฝรั่งเศสมี อาร์เซน อังรี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงโตเกียวเป็นหัวหน้า ก่อนจะมีการลงนามในอนุสัญญาโตเกียวในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 โดยมีกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เป็นหัวหน้าคณะลงนาม[2]
จากอนุสัญญานี้ทำให้ไทยได้ ดินแดนฝั่งขวาของหลวงพระบางจำปาศักดิ์ศรีโสภณพระตะบอง และดินแดนในกัมพูชา คืนมาจากฝรั่งเศส และได้นำมาแบ่งเป็น 4 จังหวัดคือ จังหวัดพระตะบองจังหวัดพิบูลสงครามจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง[2]

รายละเอียดของอนุสัญญา[1]แก้ไข

หลักปักปันเขตแดนสยาม
  1. ให้ประเทศไทยได้รับคืนดินแดนทั้งหมดที่เสียให้ฝรั่งเศสตามสนธิสัญญา เมื่อ ร.ศ. 123 มณฑลบูรพาที่เสียไปใน ร.ศ. 126 ฝรั่งเศสจะคืนพระตะบองและศรีโสภณให้จนถึงทะเลสาบ แต่เสียมราฐและนครวัดยังเป็นของฝรั่งเศสอยู่
  2. ให้ถือร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดนในแม่น้ำโขง แต่เกาะโขงยังเป็นของอาณาเขตอินโดจีนฝรั่งเศส เกาะโคนตกเป็นของไทย ส่วนดินแดนเล็กๆบนฝั่งขวาของแม่น้ำตรงข้ามกับสะตรึงเตรง ซึ่งแต่เดิมสงวนไว้ให้ฝรั่งเศสนั้น ฝรั่งเศสยกให้ไทย
  3. ในทะเลสาบ รัศมี 20 กิโลเมตรจากจุดพรมแดนปัจจุบันระหว่างเสียมราฐกับพระตะบอง จดทะเลสาบ (ปากน้ำสะดึงกัมบด) ไปบรรจบจุดพรมแดนปัจจุบันระหว่างพระตะบองกับโพธิสัตว์จดทะเลสาบ (ปากน้ำตะตึงดนตรี) เป็นเส้นเขตแดน ทะเลสาบคนไทยและฝรั่งเศสทำการเดินเรือจับสัตว์น้ำได้โดยเสรี
  4. ในบรรดาดินแดนที่โอนให้แก่ประเทศไทยนั้นต้องปลอดทหาร คนฝรั่งเศสจะได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกับคนไทย ยกเว้นการได้มาของอสังหาริมทรัพย์ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
  5. รัฐบาลไทยจะอำนวยความคุ้มครองให้แก่บรรดาที่บรรจุราชอัฐิของราชวงค์หลวงพระบาง ซึ่งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง และจะอำนวยความสะดวกต่างๆในการรักษาและเยี่ยมเยียนที่บรรจุอัฐินั้น
  6. ในการโอนอธิปไตยเหนือดินแดนที่ยกให้ไทยนั้น คนชาติฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ย่อมได้สัญชาติไทยทันที แต่ภายในเวลา 3 ปี คนชาติฝรั่งเศสจะเลือกเอาสัญชาติฝรั่งเศสไว้ได้โดย
    1. แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้ปกครองผู้มีอำนาจ
    2. ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ในดินแดนฝรั่งเศส
  7. ประเทศไทยจะใช้เงิน 6 ล้านเปียสอินโดจีนแก่ฝรั่งเศส ในเวลา 6 ปี
  8. การขัดกันที่เกิดขึ้นระหว่างไทยและฝรั่งเศสในเรื่องตีความหรือการใช้บทแห่งอนุสัญญานี้ให้ตกลงกันด้วยการทูต ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ให้เสนอรัฐบาลญี่ปุ่นไกล่เกลี่ย
  9. ส่วนการถอนตัวและโอนดินแดนนั้น รัฐบาลฝรั่งเศสจะมอบบัญชีรายการอสังหาริมทรัพย์สาธารณะที่มีอยู่ในดินแดนที่ยกให้พร้อมบัญชีรายนามผู้แทนฝรั่งเศสซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโอนนั้นแก่รัฐบาลไทยภายใน 20 วัน ส่วนรัฐบาลไทยจะมอบบัญชีรายนามผู้แทนฝ่ายไทยภายใน 20 วันเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ดีอนุสัญญานี้ได้ถูกยกเลิกโดย "ความตกลงระงับกรณีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส" (Accord de rėglement Franco-Siamois) ซึ่งทำที่กรุงวอชิงตัน เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2489 (ค.ศ. 1946) หรือที่รู้จักในชื่อ "Washington Accord"

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561

4 เรื่องที่น่าสนใจระหว่างไทย-ฝรั่งเศส

ไทยถือว่าเป็นหนึ่งประเทศในเอเชียที่มีความสัมพันธ์กันอย่างยาวนานที่สุดกับประเทศฝรั่งเศส แต่ความร่วมมือระหว่างสองประเทศไม่เคยห่างเหินกันไม่ว่าไทยเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองสลับไปมาระหว่างระบอบประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการทหาร ทั้งในด้านการค้า วัฒนธรรม การศึกษาและวิทยาศาสตร์ รวมไปจนถึงการทหาร
ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2399 จนถึงตอนนี้ ไทยกับฝรั่งเศสสถาปนาความสัมพันธ์ด้านการทูตมาอย่างยาวนานกว่า 160 ปีแล้ว

1) ไทย-ฝรั่งเศสรู้จักกันตั้งแต่สมัยอยุธยา 

หากย้อนกลับไปดูในทางประวัติศาสตร์ ตามที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ระบุว่า ช่วงศตวรรษที่ 17 ประเทศฝรั่งเศสและประเทศสยามได้เริ่มความสัมพันธ์กันอย่างเป็นทางการครั้งแรก คณะทูตจากประเทศไทยได้เดินทางไปเยือนประเทศฝรั่งเศสในปี 2227 และ 2229 โดยได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 คณะตัวแทนจากฝรั่งเศสหลายคณะได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์เช่นกัน คณะตัวแทนจากฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงที่สุดคือคณะของ เชอร์วัลลิเยร์ เดอ โชมงต์ 
นางรำไทยแสดงท่ารำหน้าหอไอเฟล เพื่อโปรโมตการท่องเที่ยวของไทยImage copyrightKENZO TRIBOUILLARD/GETTY IMAGES
ในส่วนของการล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อปี 2436 วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 หรือ กรณีพิพาทระหว่างประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศสทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้งในปี 2440 และ 2450 สัมพันธภาพดังกล่าวดีขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศไทยร่วมมือทางการทหารกับฝรั่งเศส หลังสงครามสิ้นสุด ในปี 2461 ประเทศสยามได้ส่งทหารเข้าร่วมสวนสนามที่ ถนนช็องเอลิเซ่ ประเทศฝรั่งเศส อีกด้วย

2. ฝรั่งเศสมีอิทธิพลต่อการปกครองไทยยุคแรก

จากรายงาน "ย้อนอดีต มองอนาคต 160 ปี สัมพันธ์'ไทย-ฝรั่งเศส'(1)" ในเว็บไซต์มติชนออนไลน์ระบุว่า นักศึกษาไทยที่ไปเล่าเรียนศึกษาในฝรั่งเศสหลายท่านก็กลับมามีบทบาทด้านการปกครองในไทย ไม่ว่าจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายปรีดี พนมยงค์ หรือ นายควง อภัยวงศ์ 
ขณะที่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่มีความโดดเด่นอีกท่านหนึ่งคือ ดร.ถนัด คอมันตร์ ก็เป็นนักเรียนฝรั่งเศสและเป็นผู้ก่อตั้งอาเซียนด้วย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคยดำรงตำแหน่งนายกสภากิติมศักดิ์ ของสมาคมสยามเพื่อภูมิปัญญาและอนุเคราะห์ซึ่งกันและกันImage copyrightKEYSTONE-FRANCE/GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคยดำรงตำแหน่งนายกสภากิติมศักดิ์ ของสมาคมสยามเพื่อภูมิปัญญาและอนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน
หากพิจารณาจากข้อมูลของสมาคมนักเรียนไทยในฝรั่งเศส ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะพบว่าในด้านการศึกษานั้นทั้งไทยและฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์กันทุกระดับ สมาคมนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศสฯได้เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2466 แต่เดิมใช้ชื่อว่า สามัคยานุเคราะห์สมาคม (ส.ย.า.ม.) หรือ Association Siamoise d'Intellectualité et d'Assistance Mutuelle (S.I.A.M.) ซึ่งมีความหมายว่า สมาคมสยามเพื่อภูมิปัญญาและอนุเคราะห์ซึ่งกันและกันโดยได้ทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ขึ้นดำรงตำแหน่งสภานายกกิตติมศักดิ์ 
นอกจากนี้ นายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เคยดำรงตำแหน่งสภานายก​สมาคมสยามฯ​ ด้วย 2 สมัยในปี 2468 และ 2469 

3. ไทยขายเครื่องปรับอากาศ ฝรั่งเศสขายเครื่องบิน

การค้าระหว่างไทยและฝรั่งเศสในปี 2559 มีมูลค่ารวม 153,848 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.18 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แบ่งเป็น ไทยส่งออกไปยังฝรั่งเศส มูลค่า 54,483 ล้านบาท ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าจากฝรั่งเศสมีมูลค่าสูงถึง 99,366 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยเสียดุลการค้าเป็นมูลค่า 44,884 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ฝรั่งเศสเป็นคู่ค้าไทยอันดับที่ 23 แต่หากเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในยุโรป ถือเป็นอันดับ 5 รองจากเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ ตามลำดับ
สินค้าประเภทอะไร ที่ไทยนำเข้าจากฝรั่งเศสที่มีมูลค่ามากที่สุด คำตอบคือ เครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ โดยในปี 2559 มีมูลค่าสูงถึง 34,812 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35 ของมูลค่านำเข้าจากฝรั่งเศส ส่วนสินค้านำเข้าอันดับสอง คือ สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง ตามมาด้วยเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และเคมีภัณฑ์
เครื่องบินรุ่น แอร์บัส 350 ของบมจ.การบินไทยวิ่งบนแท็กซี่เวย์ภายหลังจากที่ร่อนลงจอดครั้งแรกที่สนามบินสุวรรณภูมิเมื่อวันที่ 31 ส.ค. ปีที่แล้วImage copyrightBLOOMBERG/GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพเครื่องบินรุ่น แอร์บัส 350 ของบมจ.การบินไทยวิ่งบนแท็กซี่เวย์ภายหลังจากที่ร่อนลงจอดครั้งแรกที่สนามบินสุวรรณภูมิเมื่อวันที่ 31 ส.ค. ปีที่แล้ว
อุตสาหกรรมการบินในไทยถือเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจผลิตเครื่องบินของฝรั่งเศส เห็นได้จากการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างบริษัทแอร์บัสกรุ๊ปกับการบินไทย เพื่อศึกษาเรื่องการสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยานที่สนามบินอู่ตะเภาบนพื้นที่ขนาด 600 ไร่ เพื่อให้เป็นศูนย์ซ่อมที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และทันสมัยที่สุดในเอเชีย โดยเว็บไซต์มติชนระบุว่า ศูนย์ซ่อมดังกล่าวจะมีขนาดใหญ่กว่าศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานที่สนามบินชางงีของสิงคโปร์ และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2563
ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปฝรั่งเศสคือ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เลนส์ อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 

4. ไทยและฝรั่งเศสมีอะไรหลายอย่างคล้ายกัน

แม้ว่าจะแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์ แต่ขนาดพื้นที่ของประเทศไทยและฝรั่งเศสมีความใกล้เคียงกัน ไทยมีพื้นที่ 513,115 ตร.กม ส่วนฝรั่งเศส 675,417 ตร.กม และมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกันด้วย ในฝรั่งเศสมีประชากร 64.4 ล้านคน สวนประเทศไทยมี 67.6 ล้านคน
ธงชาติไทยและฝรั่งเศสโพกสะบัดImage copyrightPORNCHAI KITTIWONGSAKUL/AFP/GETTY IMAGES
นอกจากนี้ สีบนธงชาติของทั้งไทยและฝรั่งเศสยังมี 3 สีและเรียกว่า "ธงไตรรงค์" (Tricolour) เหมือนกัน คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน แต่ความหมายของสีแตกต่างกัน สำหรับธงชาติไทย สีแดง หมายถึง ชาติ สีขาว หมายถึง ศาสนา สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ ส่วนสีบนธงชาติฝรั่งเศส (ตามข้อมูลเว็บไซต์ gouvernenment.fr) ระบุว่าสีขาวคือสีประจำสถาบันกษัตริย์ ส่วนสีน้ำเงินและสีแดงเป็นสีประจำกรุงปารีส